9/11/2013 09:52 เมื่อ 9/11/2013
อ่าน 9840
| ตอบ 3
ในการเลือกซื้อเครื่องใช้ไฟฟ้ามีสิ่งที่ต้องรู้ดังนี้ :-
ผู้บริโภคโดยทั่วไปมักจะเลือกซื้อผลิตภัณฑ์ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์โดยพิจารณาจากรูปลักษณ์ภายนอก และคุณสมบัติตามที่ผู้จำหน่ายโฆษณาเป็นลำดับแรก แต่ไม่สามารถพิจารณาถึงประสิทธิภาพ ความคงทน และความปลอดภัยในการนำไปใช้งานดังนั้น วิธีพิจารณาที่ง่ายที่สุดในการเลือกซื้อผลิตภัณฑ์ ผู้บริโภคควรพิจารณาว่าผลิตภัณฑ์นั้นๆ มีคุณภาพตามมาตรฐานหรือไม่ โดยพิจารณาจากเครื่องหมายมาตรฐานผลิตภัณฑ์ที่แสดงไว้บนผลิตภัณฑ์
ประเภทของเครื่องหมายมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม ประกอบด้วย
มาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมที่ผู้บริโภคควรรู้เครื่องหมายมาตรฐานทั่วไป :
เป็นเครื่องหมายที่ผู้ผลิตยื่นขอการรับรองมาตรฐานผลิตภัณฑ์จากสำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (สมอ.)เครื่องหมายมาตรฐานบังคับ :เป็นเครื่องหมายที่กำหนดให้ผู้ผลิต ผู้นำเข้า ต้องยื่นขออนุญาตแสดงเครื่องหมายมาตรฐานที่ สมอ. สำหรับผลิตภัณฑ์ที่อาจเกิดอันตรายระหว่างการใช้งาน เพื่อเป็นการประกันความปลอดภัยให้แก่ผู้บริโภคเป็นสำคัญ โดยต้องขออนุญาตก่อนการผลิต และจำหน่ายผลิตภัณฑ์ หากไม่ได้รับอนุญาตจะไม่สามารถวางจำหน่ายได้ และ
หากฝ่าฝืนจะมีโทษตามกฎหมายนอกจากนี้ยังมีเครื่องหมายแสดงคุณภาพของผลิตภัณฑ์ของหน่วยงาน
ต่างๆ เช่น
ฉลากแสดงประสิทธิภาพการใช้พลังงาน :
เป็นฉลากที่แสดงความสามารถในการประหยัดพลังงานไฟฟ้าฉลากเขียว :เป็นฉลากที่แสดงว่าผลิตภัณฑ์นั้นไม่ก่อผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม
ผลเสีย หรือ โทษของการใช้สินค้าที่ไม่ได้มาตรฐาน
1 อาจเกิดอันตรายต่อชีวิต สุขภาพอนามัย และทรัพย์สินของผู้ใช้และผู้อื่น
2 มีอายุการใช้งานสั้น ไม่คุ้มค่ากับเงินที่ซื้อสินค้า
3 มีประสิทธิการใช้พลังงานต่ำ ทำให้สิ้นเปลืองค่าไฟฟ้า
4 สินค้าที่ไม่ได้มาตรฐานมักจะเป็นสินค้าที่ชำรุด เสียหายง่าย ทำให้กลายเป็นขยะเศษซากจำนวนมาก และเกิดภาระค่าใช้จ่ายในการกำจัดเศษซาก
5 การใช้สินค้าที่ไม่ได้มาตรฐานเป็นการสนับสนุนให้เกิดการเอาเปรียบ และสร้างความไม่เป็นธรรมแก่ผู้บริโภคและผู้ประกอบการที่ผลิต หรือจำหน่ายสินค้าที่ได้มาตรฐาน
ตัวอย่างการทดสอบผลิตภัณฑ์ที่ไม่ได้มาตรฐาน และทำให้เป็นอันตรายต่อชีวิตและทรัพย์สิน
: การลุกไหม้ของเครื่องเป่าผมที่เกิดจากการลัดวงจรขดลวดความร้อนเนื่องจากไม่มีระบบป้องกันการลัดวงจรไฟฟ้า
: วัสดุที่ใช้ของเครื่องเป่าผมเกิดการหลอมละลายเนื่องจากการลัดวงจรไฟฟ้า
: แผ่นความร้อน (Sole Plate) ของเตารีดไฟฟ้าที่เกิดการหลอมละลาย
เนื่องจากไม่มีระบบอุปกรณ์ป้องกันความร้อนสูงเกินขีดจำกัด
: เครื่องทำน้ำอุ่นที่ใช้อุปกรณ์ปั้มน้ำไม่ได้มาตรฐานจะทำให้เกิดการรั่วไหลซึ่งเป็นสาเหตุของการลัดวงจรไฟฟ้าได้
: แบตเตอร์รี่แบบแห้ง (Dry Cell Battery) ที่ไม่ได้มาตรฐานจ่ายกระแสไฟฟ้าต่ำกว่าข้อกำหนดมาตรฐานและมีอายุการใช้งานสั้น
: แบตเตอร์รี่แบบชาร์จประจุไฟฟ้า (Rechargeable Battery) ที่ไม่ได้มาตรฐานจ่ายกระแสไฟฟ้าต่ำกว่าข้อกำหนดมาตรฐานและอาจเกิดการระเบิดระหว่างชาร์จประจุไฟฟ้า
เตารีดไฟฟ้าการเลือกซื้อเตารีดไฟฟ้า
1 มีเครื่องหมาย มอก. เป็นสำคัญเนื่องจากเตารีดไฟฟ้าเป็นผลิตภัณฑ์ที่ต้องเป็นไปตามมาตรฐานบังคับด้านความปลอดภัยของสมอ. (มอก. 366-2547)
2 มีคำแนะนำให้พร้อมกับคู่มือการใช้เพื่อให้สามารถใช้งานได้อย่างปลอดภัย
3 ปลั๊ก และสายไฟต้องได้มาตรฐานตามที่กำหนดไว้ใน มอก.
4 ข้อต่อสายไฟกับเครื่องต้องยึดแน่นและไม่หลวมหลุดง่ายขณะใช้งานอันตรายจากการใช้เตารีดไฟฟ้าที่ไม่ได้มาตรฐาน
1 อาจทำให้เตารีดลุกไหม้ได้ถ้าวัสดุที่ใช้ไม่ได้มาตรฐาน หรือไม่สามารถทนความร้อนได้ตามที่มาตรฐานกำหนด
2 อาจถูกไฟดูดได้เนื่องจากส่วนที่เป็นฉนวนหุ้มไม่ได้มาตรฐาน
3 เตารีดไฟฟ้าที่ไม่มีระบบตัดไฟฟ้าอัตโนมัติ ขณะใช้งานเมื่อเตารีดไฟฟ้ามีความร้อนเกินกำหนดอาจทำให้พื้นเตารีดไฟฟ้าร้อนและเกิดการลุกไหม้ได้
4 กรณีเป็นเตารีดไฟฟ้าที่มีระบบไอน้ำอาจเกิดอันตรายจากไฟฟ้าลัดวงจรเนื่องจากช่องเก็บน้ำอาจเกิดการรั่ว ซึม หรือสัมผัสกับไฟฟ้า
คำแนะนำการใช้เตารีดไฟฟ้าให้ปลอดภัย
1 ควรระวังไม่ให้ความร้อนจากพื้นเตารีดสัมผัสสายไฟฟ้าเพราะจะทำให้เปลือกสาย(ฉนวน) เสียหายได้
2 สายปลั๊กของเตารีด เปลือกสาย(ฉนวน) ต้องไม่เสื่อมสภาพหรือฉีกขาด
3 ต้องคอยหมั่นตรวจสอบฉนวนยางที่หุ้มสายเข้าเตารีด หากพบว่าเปื่อยหรือฉีกขาดควรรีบเปลี่ยนใหม่โดยช่างผู้มีความรู้ เพราะ
หากไม่รีบเปลี่ยนสายไฟบริเวณนั้นอาจชำรุดและถูกไฟดูดได้
4 ขณะใช้งาน เมื่อหยุดรีดต้องวางบนวัสดุที่ไม่ติดไฟง่าย
5 เตารีดที่ใช้ควรมีสายดิน และต่อลงดินผ่านทางเต้าเสียบ-เต้ารับที่มี สายดินด้วยและหมั่นตรวจสอบไฟรั่วด้วยไขควงลองไฟเสมอ
ข้อแนะนำในการเลือกซื้อและการใช้งาน
กาต้มน้ำไฟฟ้าการเลือกซื้อกระติกน้ำร้อนไฟฟ้า
1 มีเครื่องหมาย มอก. เป็นสำคัญ
2 มีคำแนะนำให้พร้อมกับคู่มือการใช้เพื่อให้สามารถใช้งานได้อย่างปลอดภัย
3 มีฉลากกำกับแสดงรายละเอียดของผลิตภัณฑ์ ผู้ผลิต ผู้จำหน่าย ต้องชัดเจนไม่ลบเลือนง่าย และมีข้อมูลครบถ้วน
4 ปลั๊กและสายไฟ ต้องได้มาตรฐานตามที่กำหนดไว้ใน มอก.
5 ควรเลือกซื้อผลิตภัณฑ์ที่วัสดุที่มีความปลอดภัยและขณะการใช้งานเมื่อเกิดความร้อน ไม่ปล่อยสารละลายที่เป็นอันตรายต่อผู้บริโภคโดยพิจารณาจากฉลากผลิตภัณฑ์
6 ผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนสัมผัสโดยใช้มือจับถือควรทำจากฉนวนที่ไม่ใช่โลหะเพื่อป้องกันการเป็นสื่อนำไฟฟ้าเมื่อเกิดไฟฟ้ารั่วอันตรายจากกระติกน้ำร้อนไฟฟ้าและกาต้มน้ำไฟฟ้าที่ไม่ได้มาตรฐาน
1 อาจเป็นสาเหตุของเพลิงไหม้ได้ถ้าวัสดุที่ใช้ไม่สามารถทนความร้อนได้
2 อาจทำให้ผู้ใช้ถูกไฟดูดได้เนื่องจากส่วนที่เป็นฉนวนหุ้ม จุดต่อพ่วง และสายไฟไม่ได้มาตรฐาน
3 ถ้าไม่มีระบบตัดไฟเมื่อใช้งานเป็นระยะเวลานานอาจทำตัวควบคุมความร้อนลัดวงจรและเกิดเพลิงไหม้ได้
4 ถ้าการออกแบบไม่ได้มาตรฐาน อาจมีส่วนที่นิ้วแหย่หรือโดนส่วนที่ไฟฟ้าผ่านทำให้โดนไฟดูดได้ รวมถึงอาจเกิดกระแสไฟรั่วขณะใช้งานได้
5 ผลิตภัณฑ์ที่ใช้ในการหุงต้มหากใช้วัสดุที่ไม่ได้มาตรฐานอาจมีสารปนเปื้อน เช่นปรอทหรือตะกั่วปนลงไปในน้ำขณะที่ต้มได้
คำแนะนำการใช้กระติกน้ำร้อนไฟฟ้ากาต้มน้ำไฟฟ้าให้ปลอดภัย
1 ขณะใช้งานควรวางบนวัสดุที่มีคุณสมบัติไม่ติดไฟ และไม่ควรวางใกล้วัสดุติดไฟ
2 ควรมีสายดินแม้ว่าจะมีฉนวนหุ้มภายนอกหรือไม่ก็ตาม เนื่องจากอาจมีไฟรั่วมากับน้ำที่เท หรือน้ำที่กดมาจากท่อ
มีฉลากกำกับแสดงรายละเอียดของผลิตภัณฑ์ ผู้ผลิต ผู้จำหน่าย ต้องชัดเจนไม่ลบเลือนง่าย และมีข้อมูลครบถ้วน
อันตรายจากการใช้เตาไมโครเวฟที่ไม่ได้มาตรฐาน
1 อาจเกิดไฟฟ้าดูดในกรณีมีไฟฟ้ารั่วได้เพราะเตาไมโครเวฟเป็นผลิตภัณฑ์ที่ถูกมาตรฐานกำหนดให้มีสายดินเพื่อป้องกันไฟฟ้าช็อต
2 ถ้าฉนวนสำหรับป้องกันคลื่นแม่เหล็กและแผงตาข่ายกันคลื่นที่ประตูไม่ได้มาตรฐานก็อาจมีรังสีรั่วออกมามากกว่าที่กำหนดทำให้เป็นอันตรายได้ถ้าเครื่องไม่มีระบบตัดคลื่นโดยอัตโนมัติเมื่อเปิดประตู อาจเกิดการรั่วของคลื่นไมโครเวฟได้
คำแนะนำการใช้เตาไมโครเวฟให้ปลอดภัย
1 ระบบไฟฟ้าในบ้านควรมีสายดินต่ออย่างถูกต้อง เพราะแม้ว่าเตาอบไมโครเวฟเป็นผลิตภัณฑ์ที่ถูกกำหนดให้ต้องมีสายดินสำหรับป้องกันไฟฟ้ารั่วแล้วแต่หากระบบไฟฟ้าภายในบ้านไม่มีสายดินที่ถูกต้องการป้องกันไฟฟ้าช็อตดังกล่าวก็จะไม่มีประโยชน์
2 อย่าวางเตาไมโครเวฟใกล้อุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้าอื่นๆ เพราะจะรบกวนการทำงานของเครื่องใช้เหล่านั้น
3 ควรเลือกใช้ภาชนะให้เหมาะสมกับเตาไมโครเวฟ และไม่ควรนำภาชนะที่มีส่วนของโลหะเข้าไปในเตาอย่านำอาหารที่ถูกบรรจุในภาชนะสูญญากาศเข้าไปในเครื่องอาจทำให้ระเบิดได้เตาอบไฟฟ้า เตาไฟฟ้า
การเลือกซื้อเตาไมโครเวฟ
มีเครื่องหมาย มอก. เป็นสำคัญเนื่องจากเตาไมโครเวฟเป็นผลิตภัณฑ์ที่ต้องเป็นไปตามมาตรฐานบังคับด้านความปลอดภัยของสมอ. (มอก. 1773 - 2548)ควรเลือกขนาดความจุให้เหมาะกับวัตถุประสงค์ที่ใช้เพราะเตาไมโครเวฟขนาดเล็กจะใช้พลังงานน้อยกว่า
การเลือกซื้อและใช้งานเครื่องใช้ไฟฟ้าที่ทำความร้อนเตาไมโครเวฟใกล้เคียงกันควรเลือกซื้อรุ่นที่กำลังไฟฟ้า(วัตต์) น้อยกว่าควรเลือกซื้อเตาไมโครเวฟแบบที่มีช่องระบายอากาศด้านบนเพราะจะระบายความร้อนได้ดีกว่าควรตรวจสอบที่ประตูเปิด - ปิดด้วยว่ามีแผงตาข่ายอยู่หรือไม่ เนื่องจากแผงตาข่ายนี้จะทำหน้าที่ป้องกันสนามไฟฟ้าความถี่สูงภายในเครื่องไม่ให้ออกมาเกินค่าที่มาตรฐาน
กำหนด
อันตรายจากการใช้เตาอบไฟฟ้า เตาไฟฟ้าที่ไม่ได้มาตรฐาน
1 เตาไฟฟ้าควรมีสายดินเพื่อป้องกันไฟฟ้ารั่ว เพราะความร้อนที่เกิดจากเตาไฟฟ้าอาจทำให้ฉนวนของสายไฟเสื่อมได้ง่าย
คำแนะนำการใช้เตาอบไฟฟ้า เตาไฟฟ้าให้ปลอดภัย
1 ในการติดตั้งถ้าเตาอบและเตาไฟฟ้าเป็นแบบฝังควรให้ช่างผู้ชำนาญเป็นผู้ติดตั้งให้
2 ควรใช้ภาชนะก้นแบน และมีขนาดพอดีกับเตา ไม่เล็ก ไม่ใหญ่จนเกินไป และควรเป็นภาชนะที่มีเนื้อโลหะรับความร้อนได้ดี ซึ่งถูกออกแบบมาใช้กับเตาไฟฟ้า
3 ควรศึกษาคู่มือการใช้อย่างละเอียดและปฏิบัติตามคำแนะนำในคู่มือ
4 ควรระวังไม่ให้ความร้อนจากเตาไฟฟ้าสัมผัสสายไฟฟ้า เพราะจะทำให้ฉนวนของสายไฟเสียหายได้ และไม่ควรตั้งหรือใช้งานใกล้วัสดุติดไฟ เช่น กระดาษ
การเลือกซื้อเตาอบไฟฟ้า เตาไฟฟ้า
1 ควรเลือกซื้อเตาอบไฟฟ้าที่มีขนาดพอเหมาะกับการใช้งาน เตาอบไฟฟ้าขนาดใหญ่จะใช้พลังงานไฟฟ้ามาก ดังนั้นถ้าเลือกซื้อขนาดที่เหมาะสมก็จะสามารถประหยัดค่าไฟฟ้าได้มากขึ้น
2 เตาอบไฟฟ้าชนิดที่มีฝาเปิดด้านบนสำหรับการปิ้งหรือย่าง แม้จะมีความสามารถในการปรุงอาหารด้วยการปิ้งหรือย่างด้วยแต่ก็ทำให้ความสามารถในการอบอาหารลดลงเพราะฝาเปิดทำให้ความร้อนในการอบอาหารเล็ดลอดออกไปได้
3 ควรเลือกซื้อเตาไฟฟ้าแบบ Inductionเนื่องจากมีประสิทธิภาพการใช้พลังงานสูงกว่าเตาไฟฟ้าแบบขดลวด แต่มีข้อพิจารณาว่าภาชนะที่สามารถนำมาใช้กับเตาไฟฟ้าแบบInduction ได้นั้น จะต้องเป็นภาชนะที่มีคุณสมบัติเป็นเหล็ก แสตนเลสหรือโลหะอื่นที่เทียบเท่า
เครื่องทำน้ำอุ่นไฟฟ้า
การเลือกซื้อและใช้งานเครื่องใช้อิเล็กทรอนิกส์เช่น โทรทัศน์ เครื่องเล่นดีวีดี เครื่องเสียงการเลือกซื้อเครื่องทำน้ำอุ่นไฟฟ้ามีเครื่องหมาย มอก. เป็นสำคัญเนื่องจากเครื่องทำน้ำอุ่นไฟฟ้าเป็ผลิตภัณฑ์ที่ต้องเป็นไปตามมาตรฐานบังคับด้านความปลอดภัยของ สมอ. (มอก.1693-2547)ควรเลือกซื้อแบบที่มีเครื่องป้องกันไฟฟ้ารั่ว (ELCB) ติดตั้งในตัวเครื่องควรเลือกซื้อแบบที่ฝาด้านหลังเป็นโลหะ
เพราะถ้าเกิดมีไฟรั่วไฟจะรั่วลงดินผ่านทางฝาหลังออกไปต้องมีคำแนะนำให้พร้อมกับคู่มือการใช้และ
วิธีการติดตั้งมีฉลากกำกับแสดงรายละเอียดของผลิตภัณฑ์ ผู้ผลิต ผู้จำหน่าย ต้องชัดเจนไม่ลบเลือนง่าย และมีข้อมูลครบถ้วน
อันตรายจากการใช้เครื่องทำน้ำอุ่นไฟฟ้าไม่ได้มาตรฐาน
1 เครื่องป้องกันไฟรั่วไม่ได้มาตรฐานเมื่อเกิดไฟฟ้ารั่วอาจไม่ตัดไฟทำให้มีอันตรายถึงชีวิต
2 สวิตช์ควบคุมอุณหภูมิ ไม่ได้มาตรฐานทำให้การปรับอุณหภูมิทำได้ไม่ดี
3 เครื่องทำน้ำอุ่นไฟฟ้าที่ออกแบบสวิตช์ควบคุมแรงดันน้ำอยู่ในตำแหน่งไม่เหมาะสม เมื่อหม้อน้ำรั่วแล้วน้ำอาจหยดใส่ได้ทำให้เกิดไฟฟ้าช็อต ขณะที่เครื่องทำน้ำอุ่นไฟฟ้าที่ได้มาตรฐานตำแหน่งของสวิตช์ควบคุมแรงดันน้ำควรอยู่เยื้องจากหม้อต้มน้ำร้อนพอสมควร เพื่อหลีกเลี่ยงไฟฟ้าช็อต
4 หากวัสดุที่ใช้ทำไม่ได้มาตรฐานเมื่อเกิดไฟรั่วอาจเป็นสาเหตุของเพลิงไหม้ได้คำแนะนำการใชเ้ครอื่ งทำนำ้ อุ่นไฟฟ้าให้ปลอดภัย
1 หมั่นตรวจเช็คสวิตช์ป้องกันไฟรั่ว(ELCB) อย่างน้อยเดือนละครั้ง
2 อย่านำผ้าเปียกชุ่มน้ำไปเช็ดทำความสะอาด หรือฉีดพ่นน้ำที่ตัวเครื่องเพราะทำให้ไฟช็อตได้
3 เมื่อใช้งานเสร็จแล้วควรปิดเครื่องอย่าเปิดสวิตช์ทิ้งไว้
4 ศึกษาคู่มือ และตรวจสอบฉลากให้ดีให้ละเอียดก่อนติดตั้งและใช้งาน ซึ่งคู่มือและฉลากดังกล่าวจะระบุว่าเครื่องทำน้ำอุ่นเครื่องนั้นต้องติดตั้งอุปกรณ์ป้องกันไฟฟ้ารั่วและสายดินอย่างไร
5 ก่อนทำความสะอาดเครื่องต้องปิดเบรกเกอร์ทุกครั้งเพื่อความปลอดภัยผลิตภัณฑ์อิเล็กทรอนิกส์
การเลือกซื้อผลิตภัณฑ์อิเล็กทรอนิกส์
1 ต้องดูที่เครื่องหมาย มอก. เป็นสำคัญเนื่องจากปัจจุบัทาสำนักงามาตรฐานผลิตภัณฑอุตสาหกรรมได้กำหนดให้มอก.1195-2536 : มาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมเครื่องใช้อิเล็กทรอนิกส์และอุปกรณ์เกี่ยวข้องที่ใช้กับแหล่งจ่ายไฟฟ้าประธาน สำหรับใช้ในที่อยู่อาศัย และงานทั่วไปที่มีลักษณะ
คล้ายกัน เฉพาะด้านความปลอดภัย ให้เป็นมาตรฐานบังคับแล้ว
2 ต้องมีคำแนะนำให้พร้อมกับคู่มือการใช้เพื่อให้สามารถใช้งานได้อย่างปลอดภัย
3 มีฉลากกำกับแสดงรายละเอียดของผลิตภัณฑ์ ผู้ผลิต ผู้จำหน่าย ต้องชัดเจนไม่ลบเลือนง่าย และมีข้อมูลครบถ้วน
4 ปลั๊ก และสายไฟต้องได้มาตรฐานตามที่กำหนดไว้ใน มอก.
อันตรายจากการเลือกซื้อผลิตภัณฑ์อิเล็กทรอนิกส์ที่ไม่ได้มาตรฐาน
1 อาจเกิดไฟฟ้าช็อก (Electric Shock): เกิดจากกระแสไฟฟ้าไหลผ่านร่างกาย แค่
เล็กน้อยก็มีผลกระทบต่อคนที่สุขภาพแข็งแรง
2 การแผ่รังสี : ถ้าใช้สินค้าที่ไม่ได้มาตรฐานแล้วอาจจะมีรังสีจากจอภาพที่มีผลกระทบต่อดวงตาในระยะยาวได้
3 อายุการใช้งานของสินค้าสั้นไม่คุ้มค่ากับเงินที่เสียไป
4 การระเบิด : ถ้าใช้สินค้าที่ไม่ได้มาตรฐานเช่นจอรับภาพ จอคอมพิวเตอร์ เมื่อเครื่องทำงานผิดปรกติอาจเกิดการระเบิดได้
5 สินค้าที่มีการออกแบบที่ไม่ได้มาตรฐานตัวเครื่องอาจมีมุมที่คม ซึ่งก่อให้เกิดอาการบาดเจ็บได้ หรือถ้าออกแบบมาไม่เสถียรก็อาจจะล้มทับหรือหล่นทำให้แตกหักได้
6 สินค้ามีการลุกติดไฟง่าย : ถ้าสินค้าถูกผลิตจากวัสดุที่ไม่ได้มาตรฐานเมื่อเกิดไฟฟ้าลัดวงจรก็ทำให้ลุกติดไฟได้ง่าย ทำให้ง่ายต่อการเกิดเพลิงไหม้คำแนะนำการใช้ผลิตภัณฑ์อิเล็กทรอนิกส์ให้
ปลอดภัย
1 อย่าเปิดหรือปิดเครื่องในขณะที่ตัวเปียกชื้น
2 วางอุปกรณ์ในที่ๆ มีอากาศถ่ายเทได้สะดวก
3 อย่าถอดซ่อมด้วยตัวเอง เนื่องจากภายในมีระบบไฟฟ้าแรงสูงอยู่ด้วย
4 การวางหรือติดตั้งควรเป็นที่ๆ มั่นคงไม่ร่วงหล่นได้ง่าย
5 ในส่วนของโทรทัศน์อย่าดูใกล้เกินไปจะทำให้สายตาเสีย หรือได้รับรังสีและคลื่นสนามแม่เหล็กไฟฟ้ามากเกินไป
การเลือกซื้อและใช้งานอุปกรณ์ส่องสว่างเช่น หลอดฟลูออเรสเซนต์ หลอดคอมแพค (หลอดตะเกียบ) บัลลาสต์อิเล็กทรอนิกส์อุปกรณ์ส่องสว่าง
การเลือกซื้ออุปกรณ์ส่องสว่าง
1 มีเครื่องหมาย มอก. เป็นสำคัญเนื่องจากอุปกรณ์ส่องสว่างหลายผลิตภัณฑ์เป็นผลิตภัณฑ์ที่ต้องเป็นไปตามมาตรฐานบังคับด้านความปลอดภัยของ สมอ.เช่น บัลลาสต์ (มอก. 23-2521) ขั้วรับหลอดฟลูออเรสเซนต์ (มอก. 344-2530)หลอดฟลูออเรสเซนต์ (มอก. 956-2533)นอกจากนี้อุปกรณ์ส่องสว่างต้องมีขีดจำกัดสัญญาณรบกวนวิทยุตามมาตรฐานที่กำหนดด้วย (มอก. 1955-2542)
2 กรณีหลอดไฟฟ้าให้สังเกตกำลังของความสว่าง (ลูเมน หรือ Im) ประเภทสีของแสงที่ระบุไว้ ข้างกล่องด้วย เนื่องจากในแต่ละรุ่นจะมีค่าลูเมนไม่เท่ากัน และวัตถุประสงค์ในการใช้งานของแสงแต่ละสีที่ต่างกัน เช่น Day light, Warm white,Cool white เป็นต้น
3 ควรคำนึงถึงการใช้พลังงานของบัลลาสต์ด้วย โดยบัลลาสต์อิเล็กทรอนิกส์จะประหยัดพลังงานกว่าบัลลาสต์แกนเหล็กแต่อาจมีราคาสูงกว่า
อันตรายจากการเลือกซื้ออุปกรณ์ส่องสว่างที่ไม่ได้มาตรฐาน
1 ถ้าใช้บัลลาสต์หรือหลอดไฟที่ไม่ได้มาตรฐาน แสงสว่างที่ได้รับจะไม่ตรงตามทีระบุไว้ในผลิตภัณฑ์ ทำให้ต้องซื้อหลอดเพิ่มเพื่อให้ได้แสงตามที่เราต้องการ
2 ถ้าใช้หลอดไฟที่ไม่ได้มาตรฐานอายุการใช้งานที่สั้นทำให้ต้องเปลี่ยนหลอดบ่อยๆ เป็นการสิ้เปลืองเงินเพิ่มขึ้นอีกทั้งก่อให้เกิดขยะมีพิษในประเทศด้วย
3 ขั้วหลอดที่ไม่ได้มาตรฐานอาจทำให้เกิดอุบัติเหตุได้เช่นขั้วหักหล่นใส่คน
4 อาจเกิดไฟรั่วหรือไฟช็อตได้ถ้าใช้ขั้วรับหลอดหรือบัลลาสต์ไม่ได้มาตรฐาน
5 อาจก่อให้เกิดสัญญาณวิทยุรบกวนเป็นผลเสียหายต่อเครื่องใช้ไฟฟ้าอื่นภายในบ้าน
6 ถ้าใช้ขั้วรับหลอดหรือโคมไฟที่ผลิตจากวัสดุที่ไม่สามารถทนความร้อนสูงได้อาจก่อให้เกิดเพลิงไหม้ได้
7 ในส่วนของโคมไฟที่ผลิตไม่ได้มาตรฐานการป้องกันน้ำเข้าไม่ดีก็อาจทำให้เกิดไฟรั่วเป็นอันตรายต่อชีวิตได้การเลือกซื้อและใช้งานอุปกรณ์ดูแลผิวและผม เช่น ไดร์เป่าผม ที่หนีบผมไดร์เป่าผม และที่หนีบผม
การเลือกซื้อไดร์เป่าผม และที่หนีบผม
1 มีเครื่องหมาย มอก. เป็นสำคัญเนื่องจากไดร์เป่าผม และที่หนีบผมเป็นผลิตภัณฑ์ที่ต้องเป็นไปตามมาตรฐานบังคับด้านความปลอดภัยของ สมอ. (มอก. 1985 -2549)
2 มีฉลากกำกับแสดงรายละเอียดของผลิตภัณฑ์ ผู้ผลิต ผู้จำหน่าย ต้องชัดเจนไม่ลบเลือนง่าย และมีข้อมูลครบถ้วน
3 ปลั๊ก และสายไฟต้องได้มาตรฐานตามที่กำหนดไว้ใน มอก.
4 ควรเลือกซื้อแบบที่มีเทอร์โมฟิวส์ที่ตัดการทำงานเมื่อมีการใช้ระยะเวลานานเกินไปอันตรายจากการใช้ไดร์เป่าผมหรือเครื่องหนีบผมที่ไม่ได้มาตรฐาน
1 อาจเป็นสาเหตุของเพลิงไหม้ได้ถ้าวัสดุที่ใช้ไม่สามารถทนความร้อนได้
2 อาจทำให้ผู้ใช้ถูกไฟฟ้าช็อตได้เนื่องจากส่วนที่เป็นฉนวนหุ้มไม่ได้มาตรฐานเพราะไดร์เป่าผมและที่หนีบผมเป็นผลิตภัณฑ์ที่มาตรฐานกำหนดให้ส่วนที่สัมผัสกับผู้ใช้ต้องมีคุณสมบัติเป็นฉนวนไฟฟ้า
3 ถ้าไม่มีระบบตัดไฟเมื่อใช้งานเป็นระยะเวลานานอาจทำตัวควบคุมความร้อนลัดวงจรและเกิดการลุกไหม้ได้
4 ถ้าการออกแบบไม่ได้มาตรฐาน อาจมีส่วนที่นิ้วแหย่หรือโดนส่วนที่ไฟฟ้าผ่านทำให้โดนไฟดูดได้
คำแนะนำการใช้ไดร์เป่าผม และเครื่องหนีบผมให้ปลอดภัย
1 ควรเช็ดผมให้เกือบแห้งก่อนที่จะใช้เครื่องเป่าผม
2 ไม่ควรใช้ติดต่อกันเป็นระยะเวลานาน
3 ถอดปลั๊กหรือปิดสวิตช์ทันทีเมื่อเลิกใช้งาน
4 ควรศึกษาคู่มือการใช้งานให้ละเอียด
การเลือกซื้อและใช้งานเต้ารับไฟฟ้าแบบหยิบยกได้ (ปลั๊กต่อพ่วง)แบตเตอรี่
การเลือกซื้อเต้ารับไฟฟ้าแบบหยิบยกได้
1 การเลือกเต้ารับไฟฟ้าแบบหยิบยกได้ควรเลือกแบบที่มีฟิวส์อยู่ในตัวจะปลอดภัยกว่าเพราะเมื่อเราใช้กระแสเกินฟิวส์จะทำหน้าที่เป็นตัวตัดกระแสไฟ
2 ควรเลือกปลั๊กพ่วงให้เหมาะสมกับขนาดของกระแสไฟฟ้าของเครื่องใช้ไฟฟ้าทั้งหมดที่เราจำเป็นจะต้องต่อจากปลั๊กพ่วง
3 ควรเลือกซื้อชนิดที่มีฝาปิดช่องไฟฟ้าได้เพื่อความปลอดภัยโดยเฉพาะกรณีที่มีเด็กเล็กอาศัยอยู่ด้วย
อันตรายจากการใช้เต้ารับไฟฟ้าแบบหยิบยกได้ที่ไม่ได้มาตรฐาน
1 เต้ารับไฟฟ้าแบบหยิบยกได้ที่ไม่ได้มาตรฐานอาจก่อให้เกิดไฟฟ้ารั่วเป็นสาเหตุของเพลิงไหม้ได้
2 ถ้าฟิวส์ไม่ได้มาตรฐานเมื่อเกิดไฟช็อตแล้วฟิวส์ไม่ตัดก็อาจก่อให้เกิดไฟช็อต
คำแนะนำการใช้เต้ารับไฟฟ้าแบบหยิบยกได้ให้ปลอดภัย
1 ควรพิจารณาเครื่องใช้ไฟฟ้าที่มาเชื่อมกับเต้ารับไฟฟ้าแบบหยิบยกได้ต้องไม่เกินพิกัดที่เต้ารับฯ จะรับได้
2 การเลือกซื้อแบตเตอรี่ควรพิจารณาความมั่นคงของเปลือกหุ้ม พื้นผิวของแบตเตอรี่ต้องผิวเรียบต่อเนื่อง รวมทั้งควรมีฉลากระบุแหล่งผลิตที่น่าเชื่อถือและชัดเจนและไม่ควรซื้อแบตเตอรี่ที่มีราคาถูกเกินไปเพราะอาจเป็นแบตเตอรี่ที่มีอายุการใช้งานต่ำมากหรือไม่ได้มาตรฐานซึ่งหากนำไปใช้อาจทำให้อุปกรณ์ไฟฟ้าเสียหาย
อันตรายจากการใช้แบตเตอรี่ที่ไม่ได้มาตรฐาน
1 ถ้าใช้แบตเตอรี่ที่ไม่ได้มาตรฐานอาจทำให้การใช้งานไม่คุ้มค่าเนื่องจากอายุการใช้งานสั้นและอาจทำให้อุปกรณ์ที่ใส่แบตเตอรี่ชำรุดเสียหายได้ และก่อให้เกิดขยะมีพิษสะสมเพิ่มขึ้นในประเทศ
2 แบตเตอรี่บางชนิดที่ไม่ได้มาตรฐานอาจเกิดการระเบิดเป็นอันตรายแก่ผู้ใช้ได้
คำแนะนำการใช้แบตเตอรี่ให้ปลอดภัย
1 เปลี่ยนแบตเตอรี่พร้อมกันทุกก้อนในคราวเดียวกัน ไม่ปะปนกับก้อนเก่า
2 ไม่ควรนำแบตเตอรี่หลายชนิดหรือหลายยี่ห้อมาใช้ปะปนกัน
3 หากเป็นไปได้ควรนำแบตเตอรี่ออกจากอุปกรณ์ไฟฟ้าทุกครั้งหลังการใช้งาน
4 ไม่ควรแกะชิ้นส่วนแบตเตอรี่ และไม่ควรวางไว้ในที่มีความร้อนสูง
5 ห้ามนำแบตเตอรี่ที่ชารต์ไฟไม่ได้มาชาร์ตไฟใหม่ เพราะอาจเกิดอันตรายได้
การเลือกซื้อแบตเตอรี่
1 มีเครื่องหมาย มอก. เป็นสำคัญเนื่องจากแบตเตอรี่เป็นผลิตภัณฑ์ที่ต้องเป็นไปตามมาตรฐานบังคับด้านความปลอดภัยของ สมอ. (มอก. 2217-2548)
เครื่องซักผ้า
การเลือกซื้อเครื่องซักผ้า
1 มีเครื่องหมายมอก.เป็นสำคัญเนื่องจากเครื่องซักผ้าเป็นผลิตภัณฑ์ที่ต้องเป็นไปตามมาตรฐานบังคับด้านความปลอดภัยของ สมอ.(มอก. 1463-2540)และด้านความสามารถการซักผ้า (Perfor
mance) (มอก. 1462-2548)
2 เลือกซื้อขนาดให้เหมาะสมกับการใช้งาน
3 ปลั๊ก และสายไฟต้องได้มาตรฐานตามที่กำหนดไว้ใน มอก.อันตรายจากการใช้เครื่องซักผ้าที่ไม่ได้มาตรฐาน
1 อาจเกิดไฟฟ้าช็อตได้ในกรณีมีไฟรั่วเพราะเครื่องซักผ้าที่ไม่ได้มาตรฐานอาจไม่มีมาตรการป้องกันอันตรายจากไฟฟ้ารั่วตามที่มาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมกำหนด
2 สมรรถนะการซักผ้าต่ำหรือซักผ้าไม่สะอาด
3 อายุการใช้งานสั้นไม่คุ้มค่ากับเงินที่ซื้อ
คำแนะนำการใช้เครื่องซักผ้าให้ปลอดภัย
1 ต้องปฏิบัติตามข้อกำหนดโดยเคร่งครัดกรณีผลิตภัณฑ์ที่มีการระบุให้ต้องต่อสายดิน แม้ว่าจะมีฉนวนหุ้มหรือไม่ก็ตามเนื่องจากอาจมีไฟรั่วมากับน้ำที่ไหลออกมากับท่อ
2 ระบบไฟฟ้าในบ้านควรมีสายดินต่ออย่างถูกต้อง เพราะแม้ว่าเครื่องซักผ้าจะเป็นผลิตภัณฑ์ที่ถูกกำหนดให้ต้องมีสายดินสำหรับป้องกันไฟฟ้ารั่วแล้วแต่หากระบบไฟฟ้าภายในบ้านไม่มีสายดินที่ถูกต้องการป้องกันไฟฟ้าช็อตดังกล่าวก็จะไม่มีประโยชน์
3 ปริมาณผ้าที่ซักไม่ควรเกินพิกัดของเครื่องที่กำหนดไว้ หรือไม่ควรใส่ผ้าอัดแน่นเกินกำลังของเครื่อง
4 การซักผ้าทีละ 2-3 ชิ้น เป็นการสิ้นเปลืองไฟฟ้า และควรใช้น้ำร้อนซักผ้าเมื่อจำเป็นเท่านั้น
5 ควรใส่น้ำให้พอเหมาะกับความต้องการใช้เท่านั้นเนื่องจากจะมีผลต่อการใช้พลังงาน
กฎหมายนี้มีผลใช้บังคับเมื่อไหร่ ?
พรบ. นี้มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2552 เป็นต้นไปสิทธิของผู้บริโภคในการเรียกร้องค่าเสียหายผู้บริโภคที่ได้รับความเสียหายจากสินค้าที่ไม่ปลอดภัย สามารถฟ้องร้องด้วยตนเองหรือร้อง
เรียนต่อหน่วยงานที่ได้รับมอบหมาย เพื่อให้ ผู้ผลิต ผู้ว่าจ้างให้ผลิต ผู้นำเข้าสินค้าที่ก่อให้เกิดความเสียหาย ชดใช้ค่าสินไหมทดแทนได้ โดยผู้ประกอบการที่ต้องรับผิดดังกล่าวข้างต้นนั้นหมายความรวมถึง ผู้ขายสินค้าที่ไม่สามารถระบุตัวผู้ผลิต ผู้ว่าจ้างให้ผลิต หรือผู้นำเข้าด้วยและยังหมายความรวมถึง ผู้ประกอบการซึ่งชื่อทางการค้า เครื่องหมายการค้า อันทำให้ผู้บริโภคเข้าใจได้ว่าเป็นผู้ผลิต ผู้ว่าจ้างให้ผลิต หรือผู้นำเข้าด้วยแต่อย่างไรก็ตามหากความเสียหายจากการที่ผู้บริโภคใช้สินค้าไม่ถูกต้องตามวิธีใช้ที่กำหนดในคู่มือ ผู้ประกอบการเหล่านั้นก็ไม่ต้องรับผิดผู้บริโภคต้องเรียกร้องค่าเสียหายภายใน 3 ปี นับแต่วันที่ผู้บริโภครู้ถึงความเสียหาย และรู้ตัวผู้ประกอบการที่รับผิด
หน่วยงานที่ผู้บริโภคสามารถร้องเรียนกรณีได้รับความเสียหายและไม่เป็นธรรมจากการซื้อสินค้า
- สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค ศูนย์ราชการเฉลิมพระเกียรติ80พรรษา5ธันวาคม 2550ชั้น5อาคารBถนนแจ้งวัฒนะเขตหลักสี่กรุงเทพฯ 10210โทรศัพท์สายด่ว นสคบ.1166
อีเมล์ consumer@ocpb.go.th เว็บไซต์ www.ocpb.go.th
- สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมถนนพระรามที่ 6มเขตราชเทวี กรุงเทพฯ 10400
โทรศัพท์ 02 202 3310 – 4 โทรสาร 02 202 3415
อีเมล์ thaistan@tisi.go.th เว็บไซต์ www.tisi.go.th
สิทธิของผู้บริโภคตามพรบ. คุ้มครองผู้บริโภคการคุ้มครองสิทธิของผู้บริโภคตามกฎหมายสิทธิของผู้บริโภคตาม PL LAWสิทธิของผู้บริโภคตาม พรบ.
ความรับผิดต่อความเสียหายที่เกิดขึ้นจากสินค้าที่ไม่ปลอดภัย พ.ศ.2551สิทธิผู้บริโภค 5 ประการ (พรบ. คุ้มครองผู้บริโภคฯ)
1 สิทธิที่จะได้รับข่าวสารรวมทั้งคำพรรณาคุณภาพที่ถูกต้องและเพียงพอเกี่ยวกับสินค้าหรือบริการ ได้แก่สิทธิที่จะได้รับการโฆษณาหรือการแสดงฉลากตามความเป็นจริงและปราศจากพิษภัยผู้บริโภค รวมตลอดถึงสิทธิที่จะได้รับทราบ ข้อมูลเกี่ยวกับสินค้าหรือบริการอย่างถูกต้องหรือเพียงพอที่จะไม่หลงผิด ในการซื้อสินค้าหรือรับบริการโดยไม่เป็นธรรม
2 สิทธิที่จะมีอิสระในการเลือกหาสินค้าหรือบริการ ได้แก่สิทธิที่จะเลือกซื้อสินค้าหรือรับบริการโดยความสมัครใจของผู้บริโภค และปราศจากการชักจูงใจอันไม่เป็นธรรม
3 สิทธิที่จะได้รับความปลอดภัยจากการใช้สินค้าหรือบริการ ได้แก่สิทธิที่จะได้รับสินค้าหรือบริการที่ปลอดภัยมีสภาพและคุณภาพที่ได้มาตรฐาน เหมาะสมแก่การใช้ ไม่ก่อให้เกิดอันตรายต่อชีวิต ร่างกายหรือทรัพย์สิน ในกรณีใช้ตามคำแนะนำหรือระมัดระวังตามสภาพของสินค้าหรือบริการนั้นแล้ว
4 สิทธิที่จะได้รับความเป็นธรรมในการทำสัญญา ได้แก่สิทธิที่จะได้รับข้อสัญญาโดยไม่ถูกเอารัดเอาเปรียบจากผู้ประกอบธุรกิจ
5 สิทธิที่จะได้รับการพิจารณาหรือชดเชยความเสียหาย ได้แก่สิทธิที่จะได้รับการคุ้มครองและชดใช้ค่าเสียหายเมื่อมีการละเมิดสิทธิของผู้บริโภคตามข้อ 1, 2, 3 และ 4 ดังกล่าว
ข้อมูลอ้างอิง
สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม www.tisi.go.th
ฝ่ายปฏิบัติการและมาตรฐาน สถาบันไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ www.thaieei.com
การไฟฟ้านครหลวง www.mea.or.th
สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค www.ocpb.go.th
ที่มา: http://www.thaieei.com/neweei/html/project/moc/file/manual_Final.pdf
 ต้นฉบับ
เชิญเยี่ยมชมสินค้าของเรา
|